ความรู้เกี่ยวกับการรับราชการทหาร

หน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารป็นเรื่องที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากแก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้งและต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน 2 ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับ ผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน (ร.ด.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและกฎกระทรวง

หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
  1. การรับหมายเรียก (การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี (20 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใดต้องไปแสดงตน เพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
  2. การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร) ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก
  3. การรับหมายเรียก (การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี (20 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใดต้องไปแสดงตน เพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
  4. การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหารให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร)

ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า 18 ปี (17 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ.นั้น (ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 31 ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ. 2524 ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารใน พ.ศ. 2541 ผู้ใดไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน (ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้น ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน ทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ส่งให้พนักงานสอบสวน คือตำรวจเปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. ของปีถัดไป

การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติดังนี้

กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน)

การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตร ประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.9) ให้เป็นหลักฐาน

ตัวอย่าง เช่น นาย ก. เกิด พ.ศ.2524 ให้ถือว่าอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ และอายุย่าง 18 ปี ใน พ.ศ.2541 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ข. และ นาง ค. (นาย ข. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาง ค. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่กับน้า) กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำทะเบียนของตนพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงขอลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่ เป็นภูมิลำเนาของบิดา กับต้องนำทะเบียนบ้านของบิดาและมารดาไปแสดงด้วย เมื่อลงบัญชีทหารแล้วถือว่า นาย ก. มีภูมิลำเนาทหารอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้านาย ข เสียชีวิต นาย ก. จะต้องนำทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของตนกับมรณบัตรของนาย ข. และทะเบียนของ นาง ค. ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา ถ้าไม่สะดวกที่จะไปลงบัญชีทหารด้วยตนเอง จะให้บิดาแจ้งการลงบัญชีทหารแทนก็ได้ต้องใกล้กระชั้นวันหมดเขตการลงบัญชีทหาร โดยส่งสำเนาทะเบียนบ้านของตน และของมารดา อีกทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของตนพร้อมกับแจ้งตำหนิแผลเป็นเหนือเอวขึ้นไปที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งต่อไปจะไม่สูญหายเช่น “แผลเป็นที่แก้มขวา” เพื่อให้บิดาดำเนินการแจ้งลงบัญชีทหารแทน เสร็จแล้วบิดาจะส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.9) ให้แก่ นาย ก. ไว้เป็นหลักฐาน ต่อมาถ้า นาย ก. ประสงค์จะตรวจเลือกทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็กระทำได้ โดยแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารมาอยู่ที่เขตดุสิต การแจ้งไม่ต้องไปแจ้งที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่อย่างใด คงแจ้งที่เขตดุสิตแห่งเดียว เพียงแต่นำใบสำคัญ (แบบ สด.9) ไปขอแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารที่เขตดุสิต(สัสดีเขตดุสิตเป็นผู้ดำเนินการให้)

การรับหมายเรียกหรือ หมายเกณฑ์

ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด
ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่อำเภอท้องที่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น เช่น
ทหารกองเกินเกิด พ.ศ.2535 ให้ไปแสดงตนรับหมายเกณฑ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2555 ในเวลาราชการ เมื่อรับหมายเกณฑ์แล้วจะต้องไปรับการตรวจเลือก (เกณฑ์) ในเดือนเมษายน
๒๕๔๒ ตามวัน เวลาและสถานที่ทีกำหนดไว้ในหมายเกณฑ์ หากไม่ไปจะถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน
มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

  • การออกหมายเกณฑ์ หมายเกณฑ์นายอำเภอจะออกเฉพาะผู้ที่ได้ลงบัญชีเป็นทหารกองเกินแล้ว
    คือผู้ที่มีอายุ 21 ปี บริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการ
  • ผู้ที่มีอายุ 22-29 ปีบริบูรณ์ ซึ่งไม่เคยเข้าตรวจเลือก(เกณฑ์ทหาร)หรือเป็นคนหลีกเลี่ยงไม่มารับการเกณฑ์ ในปีก่อนๆ (ศาลตัดสินลงโทษแล้ว) หรือพ้นจากฐานะการยกเว้น หรือผ่อนผัน หรือได้รับการผ่อนผันเนื่องจากเป็นนิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดา หรือบุตร หรือคณะกรรมการตรวจเลือกมีความเห็นว่าป่วยรักษาไม่หายภายใน 30 วันในปีที่ผ่านมา
  • การรับหมายเกณฑ์แทน ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะเชื่อถือได้รับหมายเกณฑ์แทน ถ้าไม่มีให้ถือว่าผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน การรับแทนจะต้องเป็นกรณีใกล้วันหมดเขตรับหมายเกณฑ์ (ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็น ดังนี้
    1. ป่วย
    2. ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับนั้นเลยกำหนดเวลาการรับหมายเกณฑ์แล้ว
    3. ไปศึกษาต่างท้องที่ ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่

การที่จะให้รับหมายเกณฑ์แทนหรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอการรับหมายเกณฑ์แทนจะต้องมีหนังสือมอบหมายหรือมอบฉันทะของทหารกองเกินผู้นั้นถึงนายอำเภอโดยผู้รับแทนนำมาแสดงแล้วให้สัสดีอำเภอลงทะเบียนรับหนังสือ และให้ทางอำเภอทำการสอบสวนปากคำผู้รับแทนนั้นไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับแทนจะต้องให้คำรับรองในการสอบสวนว่าจะมอบหมายเกณฑ์ที่รับไปนั้นนำไปมอบให้แก่ทหารกองเกินผู้นั้น พร้อมกับแจ้งวันเวลาและสถานที่เกณฑ์ทหารให้ทราบ แล้วเสนอนายอำเภอขออนุมัติก่อนมอบหมายเกณฑ์ให้รับไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ทหารกองเกินผู้นั้นอ้างว่าไม่ได้รับหมายเกณฑ์ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงขัดขืน ไม่ไปเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

การจัดทำประกาศ ในเดือนตุลาคมทุกปี ทางอำเภอจะจัดทำประกาศให้ทหารกองเกินที่มีอายุย่างเข้า 21 ปี ใน พ.ศ. นั้นไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่ อำเภอ ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และที่เปิดเผยตามชุมชนในท้องที่นั้น กับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนัน ผู้ใหญ้บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย ถ้าผู้ใดไม่ไปรับหมายเกณฑ์ตามกำหนดจะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การตรวจเลือก

“บุคคลซึ่งจะเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้น ต้องมีขนาดรอบตัวตั้งแต่เจ็ดสิบหกเซนติเมตรขึ้นไปในเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่ 140 เซนติเมตรขึ้นไปถ้าขนาดสูงหรือขนาดรอบตัวอย่างใดอย่างหนึ่งต่ำกว่ากำหนดนี้ ให้ถือว่าเป็นคนไม่ได้ขนาดจะส่งเข้ากองประจำการไม่ได้” การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือที่รู้จักกันดีคือการเกณฑ์ทหารนั้น ตามปกติกระทรวงกลาโหม ได้กำหนดไว้ในเดือนเมษายน (วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 11 เมษายน ของทุกปี) ดังนั้นทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้ว จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนดในหมายเรียก ทั้งนี้โดยนำหลักฐานต่างๆ ได้แก่ ใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.9) หมายเรียก (แบบ สด.35) บัตรประจำตัวประชาชน ประกาศนียบัตร หรือ หลักฐานทางการศึกษาไปแสดงด้วย หากทหารกองเกินผู้ใดไม่ไปถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
และในวันตรวจเลือกนั้นผู้เข้ารับการตรวจเลือกทุกคนจะได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.43) หรือที่รู้จักกันคือ ใบผ่านการเกณฑ์ทหารนั่นเอง สำหรับผู้ที่จับสลากแดงโดยปกติจะต้องเป็นทหาร มีกำหนด 2 ปี แต่ถ้าเป็นผู้มีคุณวุฒิพิเศษแล้วกฎหมายยังเปิดโอกาสให้สิทธิในการลดวันรับราชการได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ.2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ทั้งนี้การขอสิทธิลดวันรับราชการทหาร ต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษไปยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกโดยทำคำร้องไว้ พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย

การยกเว้น

โดยปกติแล้วชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ในปีใดจะต้องไปเกณฑ์ทหารทุกคนแต่กฎหมายก็ยังเปิดโอกาสให้สิทธิแก่บุคคลบางประเภท
ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเกณฑ์ทหารเช่นบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
โดยมีรายละเอียดสรุปพอเป็นสังเขปดังนี้
ยกเว้นให้ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม (มาตรา 13) ได้แก่

  1. พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์ (ถ้าได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้วให้จำหน่ายออกจากบัญชีทหาร) แต่ถ้าลาสิกขาให้แจ้งด้วยตนเอง ต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการประจำภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา หากแจ้งเกินกำหนดนี้จะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าอายุยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย
  2. คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 74 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2479 เช่น ต้อหิน หูหนวกทั้งสองข้างลิ้นหัวใจพิการ หืด เบาหวาน โรคจิต ใบ้ คนเผือก ฯลฯ บุคคลประเภทนี้ต้องไปรับหมายเรียก ฯ ตามกำหนดและเข้ารับ การตรวจเลือกตามกฎหมายเรียก ฯ เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกเห็นว่ามีอาการโรคตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวงจริง จะปลดเป็นพ้นราชการทหารประเภทที่ 2 และทางจังหวัดจะออกใบสำคัญให้ไว้ เป็นหลักฐาน
  3. บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 45 (พ.ศ.2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 บุคคลประเภทนี้ได้แก่ ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในบางพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้หนังสือภาษาไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีก็แตกต่างกันด้วยดังนั้น ทางราชการจึงไม่ประสงค์ที่จะให้บุคคลประเภทนี้เป็นทหาร เช่น ชนชาวกระเหรี่ยง บ้านแม่สอด หมู่ที่ 4 ตำบลคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ฯลฯ
ยกเว้นให้เฉพาะในยามปกติเท่านั้น (มาตรา 14 ) ได้แก่
    1. พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง (ให้นำหลักฐานการสำเร็จนักธรรมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอหรือคณะกรรมการตรวจเลือกเพื่อดำเนินการยกเว้นให้ กรณีนี้ควรจะทำก่อนวันตรวจเลือก เพื่อดำเนินการยกเว้นให้ กรณีนี้ควรจะทำก่อนวันตรวจเลือกเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปในตรวจเลือกจะเป็นการสะดวกกว่า) แต่ประจำอยู่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาสิกขา หากแจ้งเกินกำหนดนี้จะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าอายุไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย
    2. นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ (กรณีนี้ให้ไปติดต่อขอยกเว้นต่อนายอำเภอท้องที่ ซึ่งสุเหร่า อารามหรือสำนักตั้งอยู่เพื่อตรวจสอบหลักฐาน) เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะดำเนินการยกเว้นให้แต่เมื่อพ้นจากฐานะประจำในกิจของศาสนาให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการอยู่ภายใน 30วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นจากฐานะ เช่นนั้นหากแจ้งเกินกำหนดจะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าอายุยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย
    3. บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นศท.)
      และนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม (กรณีนี้เจ้าตัวต้องประสานกับสถาบันการศึกษาเพื่อดำเนินการของยกเว้น)
    4. ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรมหรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวง และผุ้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ (เจ้าตัวจะต้องประสานกับส่วนราชการต้นสังกัด เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)
    5. นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม (เจ้าตัวจะต้องประสานกับศูนย์ฝึก ฯ เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)
    6. บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติและบุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
      หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน (กรณีนี้ให้นำหลักฐานการแปลงสัญชาติหรือหลักฐานการต้องโทษไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอ เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)