กิจกรรมนักศึกษา

 
  1. มหาวิทยาลัยมีประกาศ ห้ามจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัย
  2. หากมีภาควิชา สาขาวิชาใดที่จัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่นอกสถานที่ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเป็นรายกรณี และต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมเดินทางไปด้วย
  3. หน่วยงาน คณะผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุญาต ต้องแจ้งนักศึกษาหรือทำจดหมายขออนุญาตผู้ปกครองของนักศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร
  1. ต้องมีการเสนอขออนุมัติโครงการต่อมหาวิทยาลัยก่อนล่วงหน้า และโครงการต้องได้รับการอนุมัติเท่านั้นจึงจะสามารถดำเนินการได้
  2. มีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และต้องมีอาจารย์เดินทางไปร่วมกับนักศึกษา เพื่อคอยกำกับดูแลการจัดกิจกรรม

ตามประกาศมหาวิทยาลัย ห้ามจัดกิจกรรมรับน้อง ยกเว้นกิจกรรมที่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือกิจกรรมอาสา หากมีภาควิชา หรือคณะจัดกิจกรรมรับน้อง ไม่เป็นไปตามประกาศ มหาวิทยาลัยจะพิจารณาให้งดหรือยกเลิกกิจกรรมของภาคหรือคณะนั้นๆ

ปัจจุบันการจัดกิจกรรมของนักศึกษามีหลากหลายทั้งระดับคณะ ภาควิชา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษาและชมรม ซึ่งการจัดกิจกรรมของแต่ละหน่วยงานจะมีผู้รับผิดขอบที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำหนังสือถึงผู้ปกครองจะขึ้นอยู่กับหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สำนักงานกิจการนักศึกษาในฐานะหน่วยงานส่วนกลางพยายามให้ทุกหน่วยงานที่จัดกิจกรรมนอกสถานที่ ส่งจดหมายขออนุญาตผู้ปกครอง โดยผ่านนักศึกษาที่จะเข้าร่วมกิจกรรม

มหาวิทยาลัยมีประกาศ เรื่องการจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ แจ้งให้กับคณบดี รองคณบดีที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา หัวหน้าภาควิชา อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษาภาควิชา ได้รับทราบและปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน  ส่วนการร้องเรียนเรื่องการจัดกิจกรรมนักศึกษา สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานกิจการนักศึกษา หมายเลขโทรศัพท์  02-470-8101,02-470-8110 ในวัน เวลาราชการ

  1. ประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมของนักศึกษา เพื่อหารือ พูดคุยกับนักศึกษาผู้จัดโครงการให้คำนึงถึงความปลอดภัยของรุ่นน้อง หรือนักศึกษาที่มีบ้านอยู่ไกลจากมหาวิทยาลัย
  2. มีการดูแลอำนวยความสะดวกเรื่องการรับ ส่ง นักศึกษาเข้าหอพักโดยรถของมหาวิทยาลัย
  3. ในระหว่างทำกิจกรรม มีพนักงานรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย คอยกำกับ ดูแล อำนวยความสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง กรณีนักศึกษาเกิดอุบัติเหตุขึ้น
  4. หรือติดต่อ โทร. 02-470-8207 ศูนย์รักษาความปลอดภัยให้ประสานเจ้าหน้าที่ให้

สอบถามได้ที่สำนักงานกิจการนักศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 02-470-8101 02-470-8110

กิจกรรมในมหาวิทยาลัย ไม่มีการบังคับให้เข้าร่วม มีแค่การกำหนดชั่วโมงกิจกรรมไม่น้อยกว่า 25 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา ดังนั้นกิจกรรมประชุมเชียร์และต้อนรับน้องใหม่ ไม่ได้บังคับเช่นกัน และไม่มีผลกับการเรียนในมหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าปีการศึกษาละ 25 ชั่วโมง ตลอดหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การเข้ากับสังคมนักศึกษา  การพัฒนาบุคลิกภาพ อารมณ์ และจิตใจ การเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น  ส่วนการเข้าร่วมชมรม องค์การนักศึกษาจะจัดงานเปิดโลกกิจกรรมนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักชมรมภายในมหาวิทยาลัย และเลือกเข้าร่วมกิจกรรมชมรมที่นักศึกษาสนใจ ได้รู้จักเพื่อนๆ พี่ๆ ที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกัน พูดคุยกัน และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันได้ในสังคม

ต้องหาสาเหตุของการเรียนแล้วเกรดต่ำ เป็นเพราะการเข้าร่วมหรือทำกิจกรรมนักศึกษาหรือเป็นเพราะเหตุผลอื่น เช่น เรียนแล้วตามเนื้อหาที่อาจารย์สอนไม่ทัน  ขาดเรียน ไม่ทบทวนหลังเรียนจบ หรือเพราะการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา  หากเป็นเหตุผลของการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา ต้องดูอีกว่าที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยปีการศึกษาละ 25 ชั่วโมง ซึ่งหากเทียบระยะเวลาที่นักศึกษาได้ศึกษาอยู่ตลอด 1 ปีการศึกษา จะเป็นจำนวนชั่วโมงที่น้อยมาก นักศึกษามีการจัดสรร แบ่งเวลาระหว่างทำกิจกรรมกับการเรียนอย่างไร  หากค้นหาสาเหตุที่แท้จริงได้ สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ก็จะไม่กระทบทั้งเรื่องการเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา

นักศึกษาวิชาทหาร

 
  1. ขอใบรับรองการจบนักศึกษาวิชาทหาร จากโรงเรียนรักษาดินแดน กรณีที่มีโรงเรียนอยู่ภายในกรุงเทพมหานคร หากเป็นโรงเรียนต่างจังหวัดให้ขอได้ที่ มณฑลทหารบก (มทบ.) จังหวัดทหารบก (จทบ.) ที่ตนศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษา
  2. เขียนใบรายงานตัว แบบ รด2 ที่สำนักงานกิจการนักศึกษา ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี
  3. รายงานตัวเพื่อเรียน รด. ภายในเดือนสิงหาคม – กันยายน ตามที่โรงเรียนรักษาดินแดนกำหนด
  4. เรียน รด. ชั้นปีที่ 1 – 3 จะเรียนทุกวันเสาร์ รด. ชั้นปีที่ 4 – 5 จะเรียนทุกวันอาทิตย์ เต็มวัน จำนวน 10 สัปดาห์ ไม่รวมการสอบภาคที่ตั้ง
  5. ภาคสนามในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ของปีถัดไป

นายวินัย แสนสุข สำนักงานกิจการนักศึกษา ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี โทรศัพท์ 02- 470-8092  มือถือ 0878217221 FB เพจ นักศึกษาวิชาทหาร ม พระจอมเกล้าธนบุรี

การขอผ่อนผันเข้ารับราชการทหารกระทำในช่วง สิงหาคม 2563 – มกราคม 2564 โดยเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

                   1.สด.9            จำนวน 2 ฉบับ

                   2.สด.35          จำนวน 2 ฉบับ

                   3.ทะเบียนบ้าน   จำนวน 2 ฉบับ

                   4.บัตรประชาชน จำนวน 2 ฉบับ

                   5.บัตรนักศึกษา  จำนวน 2 ฉบับ

                   6.หนังสือรับรองสถานภาพนักศึกษา (ขอได้จากสำนักงานทะเบียนนักศึกษา มจธ.)

บริการจิตวิทยาและให้คำปรึกษา

 
  1. ขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์ได้ที่หมายเลข 0-2470-8105
  2. Page Facebook  https://www.facebook.com/cps.kmutt/
  3. E-mail : cps@kmutt.ac.th
  1. โทรศัพท์เพื่อนัดวันและเวลาในการเข้ารับคำปรึกษาที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2470-8105
  2. นัดวันเวลาได้ใน Inbox ของ Page Facebook  https://www.facebook.com/cps.kmutt/
  3. เข้าพบเพื่อขอรับคำปรึกษาได้ที่สำนักงานกิจการนักศึกษา ในวันและเวลาราชการ (นัดหมายล่วงหน้า)

ประกันอุบัติเหตุ/สุขภาพนักศึกษา

 

เมื่อสำนักงานกิจการนักศึกษา ได้รับบัตรจากบริษัทประกันแล้ว จะคัดแยกและจัดส่งไปยังภาควิชาหรือคณะ เพื่อแจกจ่ายนักศึกษา รอบแรกประมาณต้นเดือนกันยายนของแต่ละปี

สามารถใช้ได้กับสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทประกัน เช่น รพ.บางปะกอก 1, รพ.ราษฎร์บูรณะ, รพ.ประชาพัฒน์, รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล, รพ.นครธน, รพ.สมิติเวช ธนบุรี, รพ.พร้อมแพทย์ราชบุรี และยังมีรพ.อื่น ๆ ดูเพิ่มเติมได้จาก http://tiny.cc/io2zqz

ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ภายในวงเงิน 40,000 บาท ต่อ 1 อุบัติเหตุ ต่อ 1 คน  และเงินทุนประกันภัยอุบัติเหตุกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ คนละ 400,000 บาท

สามารถเบิกได้ แต่ค่ารักษาพยาบาลรวมทุกครั้งแล้วต้องไม่เกินวงเงิน 40,000 บาทต่ออุบัติเหตุ

สามารถมาเบิกได้ ทั้งนี้สำนักงานกิจการนักศึกษาจะรับเอกสารและส่งให้บริษัทพิจารณาจำนวนเงินที่ยังสามารถเรียกร้องได้ก่อน (ไม่จ่ายนักศึกษาทันที)

สถานพยาบาลทุกประเภท สามารถนำเอกสารใบเสร็จมาเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ อาทิ คลินิก สาธารณสุขชุมชน โรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน สถาบันการแพทย์

  1. ใบเสร็จรับเงิน+ใบสรุปค่าใช้จ่าย ฉบับจริง
  2. ใบรับรองแพทย์ ฉบับจริง
  3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

สำเนาสมุดวัคซีน (กรณีที่ต้องรับวัคซีนต่อเนื่อง เช่น สุนัข/แมว กัด/ข่วน  มีด/เหล็ก บาด)

กรณีนักศึกษาถูกทำร้ายร่างกาย โดยไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมทะเลาะวิวาทเอง สามารถใช้สิทธิความคุ้มครองได้ ทั้งนี้ขอให้นักศึกษาดำเนินการแจ้งความลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน และแนบสำเนาบันทึกประจำวันประกอบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ความคุ้มครองอุบัติเหตุนักศึกษา ไม่รวมถึงการรักษาฟัน รักษารากฟัน เว้นแต่การรักษาที่ได้เกิดขึ้นภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับอุบัติเหตุ (ไม่ครอบคลุมทันตกรรมประดิษฐ์)

  1. ความคุ้มครองเฉพาะคนไข้ใน(IPD) เท่านั้น
  2. ค่าห้องและค่าอาหารสูงสุด วันละ 800 บาท (30 วัน)
  3. ค่าห้อง ICU สูงสุด วันละ 1,600 บาท (7 วัน)
ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าห้อง ICU สูงสุด ไม่เกิน 24,000 บาท
  1. ค่าใช้จ่ายทั่วไปในการรักษาพยาบาล ไม่เกิน 16,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด สูงสุด ไม่เกิน 24,000 บาท (จ่ายตามอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด)
  3. ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษในโรงพยาบาล
    • เมื่อไม่มีการผ่าตัด รวมในค่าใช้จ่ายทั่วไปในการรักษาพยาบาล 1,600 บาท
    • เมื่อมีการผ่าตัด รวมในค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด 2,400 บาท
  4. ค่าดูแลโดยนายแพทย์ วันละไม่เกิน 400 บาท (30 วัน)
ค่ารถพยาบาล/วัน/เที่ยว สูงสุด ไม่เกิน 2,000 บาท

ประกันสุขภาพ ให้ความคุ้มครองเฉพาะคนไข้ใน ดังนั้น การทำฟันจึงไม่สามารถเบิกได้

นักศึกษาสัญชาติไทย จะมีเฉพาะประกันอุบัติเหตุ แต่มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้นักศึกษาสัญชาติไทยที่มีความสนใจ ขอทำประกันสุขภาพได้ โดยมีค่าใช้จ่ายปีการศึกษาละ 1,800 บาท (จ่ายเพิ่ม)

นักศึกษาติดต่อสำนักงานกิจการนักศึกษา ภายในวันและเวลาราชการ สำหรับนักศึกษาที่อยู่บางขุนเทียน สามารถติดต่อได้ที่ The HUB บางขุนเทียน และนักศึกษาที่อยู่ราชบุรี สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานที่ราชบุรีได้เช่นกัน

  1. ประกันที่มหาวิทยาลัยจัดทำให้นักศึกษาทุกคนคือ “การประกันภัยอุบัติเหตุ”   
  2. ประกันที่มีให้นักศึกษาเลือกตามความสมัครใจ คือ “การประกันภัยสุขภาพ” ซึ่งนักศึกษาต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเองเป็นเงิน 1,800 บาท/ปีการศึกษา

ติดต่อได้ที่  สำนักงานกิจการนักศึกษา อาคารพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ 190 ปี ชั้น 1 โทร.02-470-8110

กรณีบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุ โทรแจ้ง 02-470-9090  เบอร์ภายใน 9090  หรือ 02-470-8207 เบอร์ภายใน 8207  หรือแจ้งรปภ.หรือเจ้าหน้าที่   กรณีเจ็บป่วย ใช้บริการได้ที่กลุ่มงานบริการสุขภาพและอนามัย (งานพยาบาล) อาคารเรียนรวม 2 ชั้น 1 โทร.02-470-8446

ประกันที่ซื้อเพิ่ม คือประกันภัยสุขภาพ เบิกค่ารักษากรณีคนไข้ใน (IPD) เท่านั้น  ซึ่งนักศึกษาต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน 1,800 บาทต่อปีการศึกษา ซื้อตามความสมัครใจ โดยแจ้งความประสงค์ที่สำนักงานกิจการ นักศึกษา โทร.02-470-8110

สำหรับนศ.ชั้นปีที่ 1 ความคุ้มครองเริ่ม เดือนกรกฎาคม ยกเว้น นศ.ปี 1 ที่ราชบุรี ความคุ้มครองเริ่ม เดือนมิถุนายน

รพ.บางปะกอก 1  / รพ.ราษฎร์บูรณะ  / รพ.นครธน  / รพ.สมิติเวช ธนบุรี  / รพ.บางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นเนล / รพ.สุขสวัสดิ์ / รพ.กรุงเทพเมืองราช / รพ.มหาชัยพร้อมแพทย์ จ.ราชบุรี / สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://tiny.cc/io2zqz

วินัยนักศึกษา

 

กางเกงสีกรมท่า ใส่วันไหว้ครู และวันพิธีการอื่นๆตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การใช้สารเสพติดในมหาวิทยาลัยฯ เป็นความผิดอย่างร้ายแรง ใช้การป้องกัน ป้องปราม และลงโทษ

10 กว่าปีที่ผ่านมา นักศึกษา มจธ.ไม่มีประวัติการทะเลาะวิวาทต่างสถาบัน